มีนาคม 16, 2024

เซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis

เซ็บเดิร์ม โรคผิวหนังเป็นๆ หายๆ ที่อาจทำให้เกิดผมร่วงได้

     ผิว คือปราการด่านแรกที่คนภายนอกมองเห็น หากผิวของเรามีสิ่งแปลกปลอมเกิดขึ้นก็มักสร้างความกังวลให้กับเจ้าของผิว โดยเฉพาะผิวที่ไม่เรียบเนียน เป็นผื่นคันและลอกออกเป็นขุย ยิ่งเป็นตัวเพิ่มความกังวลนั้นมากขึ้น วันนี้พี่หมอจะพามารู้จักกับ โรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ที่หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินหรือเคยรู้จักกันมาแล้ว นั่นคือ “โรคเซ็บเดิร์ม” ครับ

     “โรคเซ็บเดิร์ม” คือ โรคเกี่ยวกับการอักเสบเรื้อรังของผิวหนังหรือมีอีกชื่อว่า โรคต่อมไขมันอักเสบ ซึ่งโรคเซ็บเดิร์มจะเกิดขึ้นบริเวณที่มีความมัน มีต่อมไขมันอยู่มาก เช่น ใบหน้า หลัง หน้าอก จมูก หนังศีรษะ รอบสะโพก ขาหนีบ ส่วนมากแล้วจะมีลักษณะเป็นผื่นแดง มีสะเก็ดสีขาวหรือสีเหลืองบริเวณผิวหนัง และมักมีอาการคันบริเวณผื่นหรือสะเก็ดผิวหนัง

ทำไมต้องรู้จักกับโรคเซ็บเดิร์ม?

     เพราะโรคเซ็บเดิร์มเป็นโรคเกี่ยวกับผิวหนังที่พบมากในปัจจุบันและเป็นโรคที่ต้องใช้ระยะเวลาและความพยายามในการรักษา โรคเซ็บเดิร์มสามารถลุกลามไปทั่วร่างกายได้ โดยบางครั้งอาจจะเกิดขึ้นบริเวณศีรษะและลุกลามไปยังหลังและหน้าอก เป็นโรคที่สร้างความรำคาญ รวมทั้งเป็นโรคที่แม้หายแล้วก็สามารถกลับมาเป็นอีกได้ การทำความรู้จักโรคเซ็บเดิร์มจึงเป็นตัวช่วยทำให้โรคหายหรือช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ 

อาการของโรคเซ็บเดิร์ม

     1. ผิวหนังตกสะเก็ด เป็นรังแคบนหนังศีรษะ หรือบริเวณที่มีเส้นผม คิ้วหรือหนวดเครา

     2. ผิวมันเป็นแผ่น ปกคลุมด้วยสะเก็ดสีขาวหรือเหลือง หรือมีสะเก็ดแข็งบนหนังศีรษะ ใบหู ใบหน้า หน้าอก รักแร้ ถุงอัณฑะ หรือตามร่างกายส่วนอื่น ๆ

     3. มีอาการคัน แดง ผิวหนังลอกเป็นขุยสีขาวหรือสีเหลือง ผิวมัน

     4. เปลือกตาอักเสบ มีอาการแดงหรือมีสะเก็ดแข็งติด

     5. มีอาการปวดหรือคันร่วมด้วย

     6. อาจมีอาการผมร่วงเกิดขึ้นได้!!

     7. อาการอาจรุนแรงมากขึ้นหากมีความเครียดและมักจะเกิดรุนแรงในฤดูหนาวและฤดูร้อน

     8. ในทารกอายุน้อยกว่า 3 เดือนมักจะมีเกล็ดสีเหลืองหรือน้ำตาลบนศีรษะ แต่มักจะหายไปก่อนอายุครบ 1 ปี

สาเหตุของโรคเซ็บเดิร์ม

     โรคเซ็บเดิร์มยังไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน เพราะอาจเกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นโรคภายในร่างกาย สภาพอากาศภายนอกหรือผลข้างเคียงจากยาบางชนิด โดยสามารถสรุปสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดโรคเซ็บเดิร์มได้ดังต่อไปนี้ครับ

     1. ปฏิกิริยาการอักเสบของยีสต์ Malassezia ส่วนเกิน ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ปกติอาศัยอยู่บนผิวหนัง

     2. ภูมิต้านทานผิดปกติ

     3. ภาวะทางระบบประสาทและจิตเวช เช่น โรคพาร์กินสันและภาวะซึมเศร้า

     4. ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ที่รับการปลูกถ่ายอวัยวะและผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ตับอ่อนอักเสบจากแอลกอฮอล์และมะเร็งบางชนิด

     5. โรคอ้วน

     6. การฟื้นตัวจากสภาวะทางการแพทย์ที่ตึงเครียด เช่น หัวใจวาย

     7. มีความเครียด

     8. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหรือการเจ็บป่วย

     9. ได้รับสารซักฟอกที่รุนแรง ตัวทำละลาย สารเคมี และสบู่

     10. ยาบางชนิด เช่น psoralen interferon และ lithium

     11. ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป มักปรากฏในทารกและหายไปก่อนวัยรุ่น

     12. การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างรวดเร็ว

     13. โลชั่นที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์

     14. พันธุกรรม

3 เคล็ดลับในการจัดการกับ Seborrheic Dermatitis บนหนังศีรษะ

            สิ่ง ที่ทำให้โรคไม่หายขาดเพราะไม่เข้าใจโรคครับ!! จริงอยู่ว่าปัจจัยทางพันธุกรรม และ ความไวของระบบภูมิคุ้มกันต่อยีสต์นั้นเป็นเรื่องที่ไม่เปลี่ยนแปลง แต่หากปรับพฤติกรรมสร้างวินัยให้กับชีวิตเป็นสำคัญแล้วโรคหายได้ครับ หรือหากจะเป็นก็นานๆครั้งตามปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เรามาดูในเรื่องของสิ่งที่เราต้องจริงจังกับชีวิตเพื่อไม่ให้เป็น เซ็บเดิร์มกัน

1. การดูแลสมดุลของ ยีสต์ (Yeast)

            ยีสต์บนหนังศีรษะ – การใช้แชมพูจัดรังแค แชมพูที่มีส่วนประกอบในการยับยั้งเชื้อราเช่น Ketoconazole, Cyclopirox ช่วย ลดปริมาณเชื้อบนหนังศีรษะและทำให้รังแคดีขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสระต้องท้ิงแชมพู่ไว้บนศีรษะ5-10 นาที ก่อนล้างออก ใช่ครีมนวดผมตามได้ ใช่รวมกับแชมพูอื่นๆได้เพราะแชมพูมักทำให้ผมแห้ง และกลิ่นอาจจะไม่หอมนัก ความ ถี่ในการสระขึ้นอยู่กับอาการ ช่วงที่เป็นเยอะอาจจะสระด้วยแชมพูนี้ทุกวัน หรือวันเว้นวัน และถึงแม้อาการดีขึ้นแล้วก็ควรใช้ต่อเนื่องอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

            ยีสต์ในลำไส้ – ถึงการศึกษาเรื่องยีสต์ในลำไส้กับเซ็บเดิร์มยังมีน้อย แต่พบว่าอาหารที่มีส่วนประกอบของยีสต์ อาการพวกแป้งน้ำตาล นม เนย ชีสต์ ที่ทำให้ยีสต์ในลำไส้เพิ่มขึ้น ล้วนแล้วแต่ทำให้อาการของผื่นแย่ลง การจำกัดอาหารเหล่านี้ รวมถึงการใช้ โปรไบโอติก (Probiotic) มาช่วยรักษาทำให้ควบคุมโรคได้ง่ายขึ้น

2. การรักษาสมดุลของหนังศีรษะ

            หนังศีรษะแห้ง /หนังศีรษะมัน – การเลือกแชมพูเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเรื่องนี้ แชมพู ทาร์ (Tar shampoo), ซิงค์ไพริไทออน (Zine pyrithion), ซิลิเนียม (Seleium) ที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบของหนังศีรษะ และลดการแบ่งตัวจะทำให้รังแคดีขึ้น ใช้ได้ดีในคนที่หนังศีรษะมัน แต่มักทำให้หนังศีรษะแห้ง จึงควรใช้ไม่ถี่เกินไปในคนที่ผิวแห้ง ในคนที่หนังศีรษะแห้ง ควรงดการใช้น้ำอุ่นสระผม การใช้ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก ชโลมศีรษะข้ามคืนก่อนสระออก ช่วยทำให้หนังศีรษะไม่แห้งเกินไป อาหารเสริมในกลุ่ม Fish oil ก็อาจจะทำให้หนังศีรษะที่แห้งดีขึ้น

            การอักเสบของหนังศีรษะ – การรักษาอาการอักเสบของหนังศีรษะ สเตอรอยด์ชนิดทา เป็นยาที่จะทำให้ เซ็บเดิร์ม ดีขึ้นได้ง่ายและเร็ว แต่มีผลเสียในระยะยาวทำให้โรคเป็นซ้ำง่าย และหนังศีรษะอ่อนแอ่ แนะนำให้ใช้ในกรณีที่การอักเสบเป็นมากๆในระยะเวลาสั้นๆไม่เกิน 1 สัปดาห์เท่านั้น การยับยั้งการอักเสบด้วยวิธีอื่นเช่นยาทาต้านเชื้อรา ยาต้านการอักเสบแบบไม่มีสเตอร์รอย เช่น แทโครลิมุส (Tacrolimus) ไพเมโครลิมุส (Pimecrolimus) อาจ ให้ผลช้ากว่าสเตอรอยด์ ใช้ได้ยากบนหนังศรีษะ แต่ใช้ได้ดีกับใบหน้า ยาเหล่านี้โดยประสบการณ์ให้ผลการควบคุมโรคในระยะยาวได้ดีกว่าการใช้สเตอร อยด์ การใช้ การรักษาด้วยแสง หรือ เลเซอร์ เพื่อลดการอักเสบของหนังศีรษะและใบหน้าเป็นทางเลือกที่ดีในผู้ที่มีปัญหากับ การทายา

3. วินัยในการดูแลสุขภาพกาย และ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

            เซ็บเดิร์ม (SebDerm) เป็นโรคที่ต้องมีวินัยในการกินอยู่หลับนอนให้เป็นสุข

อาหาร ควรรับประทานให้ได้สมดุล การขาดวิตามินและแร่ธาตุ เช่นวิตามิน B2 B6 B9 Biotin สังกะสี (Zinc) เป็นเหตุให้เกิดเซ็บเดิร์ม ควรลดอาหารที่ใช้ยีสต์เป็นส่วนประกอบ ลดแป้งน้ำตาล นม เนย ชีส น้ำอัดลม แอลกอฮอลล์

ความเครียด ขาดการพักผ่อน อดนอน ทำให้ผื่นเห่อ และอาการของโรคควบคุมได้ยาก ควรนอนหลับอย่างน้อยในช่วง 5ทุ่ม ถึง ตี5 ดื่มน้ำให้เพียงพอ

การออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ไม่หักโหม หรือ น้อยจนเกินไป และต้องอาบน้ำสระผม ทันทีหลังจากการออกกำลังกาย หรือมีเหงื่อออกเยอะๆ

            หากเราเข้าใจโรคอย่างถูกต้องและมีวินัยสามารถปฏิบัติตาม 3 เคล็ดลับนี้ได้แล้ว เซ็บเดิร์ม ก็จะไม่เป็นปัญหาของเราอีกต่อไป

หากมีปัญหาเส้นผมหรือปัญหาหัวศีรษะต่างๆ อย่าปล่อยไว้นานเกินแก้ไข ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลรักษาเส้นผมและหนังศีรษะ

Bioscor International By Samitivej

ศูนย์รักษาฟื้นฟูปัญหาสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะ

✅สาขา BDMS Wellness Clinic ☎️ โทร 02-826-9968

✅สาขารพ.สมิติเวช สุขุมวิท ☎️โทร 0-2022-2635-6

E-mail: [email protected]

www.bioscorthailand.com

Line : @bioscorthailand

ข้อมูลจาก Samitivejclub 

และ ดร.นพ. สาโรช สุวรรณสุทธิ

Medical Degree (1st Class Honors) , Faculty of Medicine, Siriraj Hospital

Ph.D. (Gene Therapy), Osaka University, Japan

Thai Board of Dermatology

AUTHOR
bioscoradmin