เมษายน 10, 2024

ฮอร์โมนที่อาจทำให้ผมร่วงได้!!!

อาการผมร่วง สำหรับเรื่องนี้ถือเป็นปกติสำหรับคนเรา ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วผมของเราจะร่วงทุกวัน เฉลี่ยประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน ซึ่งหากใครที่มีผมร่วงอยู่ในเกณฑ์นี้ก็ไม่ต้องตกใจไป เพราะถือเป็นเรื่องปกติ แต่ทั้งนี้ถ้าหากใครที่ผมร่วงต่อวันมากเกินเกณฑ์ดังกล่าว อันดับแรก ๆ อาจจะเป็นเพราะเกิดจากเชื้อราบนหนังศีรษะ เครียดเกินไป แพ้ยาบางชนิด รวมถึงฮอร์โมนต่างๆมีความผิดปกติเกิดขึ้น

จากรูปด้านบนเราจะเห็นได้ว่าเส้นผมของเรามีวงจรชีวิดเส้นผม เมื่อเส้นผมเจอสิ่งเร้าต่างๆ การร่วงของเส้นผมอาจเกิดขึ้นจากสภาวะต่าง ๆ รวมถึงฮอร์โมน ก็สามารถส่งผลต่อระบบผมได้ ไปดูกันว่าฮอร์โมนอะไรสามารถส่งผลทำให้เกิดอาการผมร่วงได้

ฮอร์โมนผู้ชาย DHT

ฮอร์โมนตัวนี้เป็นฮอร์โมนหลักที่เกี่ยวข้องในการทำให้ผมร่วง ส่วนใหญ่จะพบในเพศชาย ทำให้ผมหลุดร่วงมากกว่าผู้หญิง แต่ความจริงคือผู้หญิงก็มีฮอร์โมนนี้อยู่ด้วยเช่นกัน การทำงานของ Dihydrotestosterone หรือ DHT คือจะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นผม เป็นฮอร์โมนที่คอยขัดขวางการฟื้นฟูและเจริญเติบโตของรากผม และเป็นสาเหตุที่ทำให้เส้นผมและรากเราอ่อนแอและเล็กลงเรื่อยๆ

ฮอร์โมนไทรอยด์ (Thyroid)

หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนผิดปกติ จะส่งผลให้ร่างกายจะขับไขมันออกมาทางผิวหนังมาก ทำให้หนังศีรษะมัน รากผมอ่อนแอ สัญญาณเตือนภัยแรกคือ เส้นผมที่ร่วงมากผิดปกติ โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากพันธุกรรม และมักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย การมีฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ (เรียกว่า HYPOTHYROIDISM) อาจทำให้น้ำหนักขึ้น รู้สึกหนาว อ่อนเพลีย และผมร่วงได้

ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)

ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงในระยะเวลาที่ฮอร์โมนนี้ไม่สมดุลกัน (เช่นในช่วงการตั้งครรภ์หรือหลังคลอดรวมถึงวัยหมดประจำเดือน) อาจเป็นสาเหตุของการหลุดร่วงของเส้นผมในผู้หญิง ระดับเอสโตรเจนที่สูงก็เชื่อมโยงกับอาการผมร่วงเช่นกัน แม้ว่าการเชื่อมโยงโดยตรงจะไม่ชัดเจน แต่สิ่งหนึ่งที่แน่นอนคือการมีเส้นผมที่แข็งแรงได้นั้น ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนของคุณต้องอยู่ในสมดุล

ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin)

ปริมาณอินซูลินที่มากเกินไปจะไปเพิ่มปริมาณ DHT ที่หมุนเวียนและเพิ่มการอักเสบในร่างกาย ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ทำให้ผมร่วง ผู้หญิงที่เป็นโรค PCOS, ความต้านทานต่ออินซูลิน หรือเบาหวาน มีแนวโน้มที่จะผมร่วงที่เกี่ยวข้องกับอินซูลิน

ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol)

เนื่องจากเมื่อคนเราเกิดความเครียด ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา โดยฮอร์โมนชนิดนี้จะไปก่อกวนระบบการทำงานของเส้นผม ทำให้เส้นผมอ่อนแอลงและหลุดร่วงไปในที่สุด

โปรแกรมการรักษาของไบโอสกอร์ได้ผลดีกับผู้ที่มีปัญหาผมบางหรือหัวล้านที่ไม่ได้เกิดจากแผลเป็น ซึ่งรวมไปถึง:

• ปัญหาผมร่วงที่เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม(ทั้งในเพศหญิงและชาย)

• ปัญหาผมร่วงจากความผิดปกติของฮอร์โมน (เช่น ไทรอยด์ฮอร์โมน )

• ภาวะผมร่วงเป็นหย่อม ที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกัน

• การขาดสารอาหารหรือแร่ธาตุต่างๆ

• ปัญหาผมร่วงหลังคลอด

• ปัญหาผมร่วงจากความเครียดและ การเจ็บป่วยเรื้อรัง

• ผมร่วงที่เกิดจากการใช้ยา

เข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ: และทำการตรวจร่างกายเบื้องต้น เพื่อประเมินสุขภาพโดยรวม ตรวจสอบสภาพหนังศีรษะ และอธิบายขั้นตอนการรักษาสำหรับคนไข้แต่ละท่าน

• การตรวจเลือด (optional): เพื่อตรวจสอบหาต้นเหตุที่อาจทำให้เกิดปัญหาผมร่วง หรือทำให้ผมร่วงเร็วขึ้น

• การตรวจฮอร์โมน (optional): เพื่อทำการประเมินว่าระดับฮอร์โมนของท่านอยู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับการรักษาผมร่วงหรือไม่ หากไม่เหมาะสม อาจต้องมีการปรับสมดุลของฮอร์โมนก่อน

Bioscor International By Samitivej

ศูนย์รักษาฟื้นฟูปัญหาสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะ

✅สาขา BDMS Wellness Clinic ☎️ โทร 02-826-9968

✅สาขารพ.สมิติเวช สุขุมวิท ☎️โทร 0-2022-2635-6

E-mail: [email protected]

www.bioscorthailand.com

AUTHOR
bioscoradmin