เมษายน 10, 2024

7 วิธีปลูกผม สำหรับคนไม่อยากหัวล้าน

7 วิธีปลูกผม สำหรับคนไม่อยากหัวล้าน

นพ. ถนอมกิต เพราะสุนทร
แพทย์ประจำศูนย์รักษาและฟื้นฟูสุขภาพเส้นผม Bioscor โรงพยาบาลสมิติเวช 
7 วิธีปลูกผม สำหรับคนไม่อยากหัวล้าน


ปัญหาหัวล้านหรือผมร่วงเป็นอีกอย่างที่คุณผู้ชายหรือคุณผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่อยาก ให้เกิดขึ้นกับตัวเองทั้งนั้น ที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้ชายจะเริ่มร่วงในบริเวณหน้าผากไล่สูงขึ้นไปและบริเวณ กลางกระหม่อมไล่ลงมา ส่วนในผู้หญิงจะร่วงแค่บริเวณกลางกระหม่อมเพียงอย่างเดียวจึงทำให้เห็นชัดใน บริเวณแสกผม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผมบริเวณท้ายทอยจะยังคงมีอยู่เสมอเพราะเป็นส่วนที่แข็ง แรงที่สุดและไม่มีผลจากปัจจัยทางกรรมพันธุ์นั่นเอง

Hair Cycle
การเจริญเติมโตขอเส้นผมในช่วงแรกจะเรียกกว่า ANAGEN เป็นระยะของการเติบโตของเส้นผม หลังจากนั้นก็จะโตไปอีก 2-3 ปี แล้วเข้าสู่ระยะพักที่เรียกว่า Catagen และในระยะสุดท้ายก็จะเข้าสู่ระยะเสี่อมเราจะเรียกว่า Telogen ซึ่งนาน 2-3 เดือน แล้วก็จะหลุดร่วงออกไป ไม่มานก็จะมีผมเส้นใหม่ขึ้นมาแทนที่ และจะวนอยู่เช่นนี้ไปเรื่อยๆ แต่เมื่อเวลาที่คนเราอายุเพิ่มขึ้นอัตราการทำงานของผมก็จะเปลี่ยนไป ระยะจะหดสั้นลงและร่วงเร็วขึ้น ปริมาณผมจึงเกิดจะน้อยลงและตายเร็วขึ้น โดยทั่วไปจะเริ่มมีปัญหาเส้นผมหลุดร่วงตามช่วงอายุ โดยอายุ30 ปี จะพบประมาณ 30% ช่วงอายุ 40 ปี จะพบได้ประมาณ 40% นั่น คือจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น และอีกหนึ่งปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการผมบางนั่นก็คือเรื่องของกรรมพันธุ์ร่วมกับความเครียดและการขาด สารอาหาร เป็นต้น

ตรวจสุขภาพก่อนทำการรักษา
เริ่มต้นการรักษาผมร่วงนั้นแพทย์จะเริ่มโดยการตรวจร่างกายก่อนเสมอว่าคนไข้มีโรค ประจำตัวหรือไม่ เพื่อจะได้รักษาได้อย่างตรงจุด เพราะหากมีโรคประจำตัวบางโรคอยู่อาจทำให้ผมไม่ขึ้นได้ หลังจากนั้นแพทย์จะทำการเจาะเลือดโดยเน้นที่การวัดระดับของฮอร์โมนทุกตัวใน ร่างกาย เพราะเมื่อผู้หญิงหรือผู้ชายอายุมากขึ้นฮอร์โมนก็จะค่อยๆ ต่ำลงไปด้วย ทำให้ร่างกายสูญเสียพลังงาน กล้ามเนื้อฝ่อลง รวมถึงเส้นผมจะอ่อนแอด้วย ซึ่งการปรับระดับฮอร์โมนก็จะสามารถช่วยให้เส้นผมดีได้ในระดับหนึ่ง หลังจากนั้นแพทย์จะตรวจเรื่องของโรคหนังศรีษะ ว่ามีปัญหาอะไรที่ทำให้ผมร่วงได้หรือไม่ โดยจะทำการเช็คสภาพหนังศรีษะทั้งหมด หากไม่มีปัญหาใดแพทย์ก็จะเริ่มการวิเคราะห์เส้นผมด้วยการใช้เครื่อง Total Hair Diagnosis System เมื่อส่องเข้าไปจะสามารถวิเคราะห์ได้ถึงความหนาแน่นของผม สภาพผม ปริมาตรผมในปัจจุบัน เก็บไว้เพื่อเป็นข้อมูลแล้วทำการรักษาให้ตรงกับอาการ

1.กินยารักษาผมร่วง
สำหรับ วิธีรักษาแบบนี้จะเหมาะกับคนไข้ที่มีปัญหาผมร่วงอันเนื่องมาจากกรรมพันธุ์ ซึ่งจะใช้ตัวยาที่ได้รับการรับรองโดยอ.ย.ของไทยและต่างประเทศ นั่นคือ กลุ่มผู้ชายจะรับประทานกลุ่ม Finasteride ยาต้านกรรมพันธุ์ที่จะช่วยขัดขวางเอนไซม์ที่มีผลทำให้ผมร่วง โดยจะรับประทานควบคู่กับยากระตุ้นเส้นผม Minoxidil ซึ่งมีผลให้เส้นผมงอกตัวเร็วและหนาขึ้น
ข้อดี: แทบจะไม่พบผลข้างเคียง ทำให้การทำลายเส้นผมจากกรรมพันธุ์หยุดลง เริ่มเห็นผลภายใน 3 เดือน
ข้อเสีย: ยากลุ่ม นี้จะไม่เหมาะสำหรับผู้หญิง เพราะยาจะไปรบกวนระบบการทำงานของฮอร์โมนในผู้หญิง อาจทำให้มีปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์ หรือขนขึ้นมากผิดปกติตามร่างกายได้

2.Hair Treatment รักษาผมร่วง
วิธีนี้เหมาะสำหรับกลุ่มผู้หญิงที่มีปัญหาผมร่วง ส่วนใหญ่จะรักษาควบคู่ไปกับการกินวิตามินและแร่ธาตุ ซึ่งทรีตเม้นต์ตัวนี้จะมี 4 ขั้น ตอน เริ่มจากการทำความสะอาดหนังศีรษะด้วยแชมพูยา แล้วใช้เครื่องน้ำแรงดันสูงล้าง ขั้นตอนที่สองใช้เคมีใส่ที่ผมเพื่อลดการอุดตันของหนังศีรษะ ขั้นตอนที่สาม ใส่ทรีตเม้นต์เข้าไปเพื่อช่วยในการปรับสภาพผมให้ผมแข็งแรงขึ้น แล้วใส่น้ำยาที่ต้านเอ็นไซด์DHT เพื่อช่วยบล็อกฮอร์โมนที่ทำลายเส้นผม และขั้นตอนสุดท้าย ใช้คลื่นอัลตราโซนิกเพื่อกระตุ้นหนังศีรษะ และเลเซอร์ เน้นแสงสีแดงเพื่อเพิ่มการดูดซึมของยาและกระตุ้นหนังศีรษะร่วมด้วย
ข้อดี: ไม่ต้องรับประทานยา และสามารถกำจัดสาเหตุที่ทำให้ผมไม่ขึ้นได้โดยตรง และไม่มีผลข้างเคียง โดยจะทำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ผมจะเริ่มดีขึ้นในเดือน 2-3 และไม่มีข้อจำกัดในการทำ
ข้อเสีย: อาจจะต้องใช้เวลาในการทำต่อครั้งค่อนข้างนาน ต้องมารับการรักษาที่ศูนย์เท่านั้น

3.การฉีดยาเพื่อหยุดผมร่วง
เหมาะ สำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วงอย่างรุนแรง เช่น ผู้หญิงหลังตั้งครรภ์ หรือผู้ที่มีการผ่าตัดแล้วผมร่วงเป็นกำมือ การรักษาจะใช้เครื่องอัดน้ำยาเข้าไปที่หนังศรีษะ โดยน้ำยาที่ใช้มี 2 ประเภท คือ Hair Loss Control ลดการหลุดร่วงของผมทันที หรือในบางคนจะใช้ Platelet Rich Plasma Therapy (PRP) ซึ่งเป็นสารสกัดจากเกล็ดเลือด หรือว่าใช้สารสกัดจากพวกสเต็มเซลล์มาช่วยด้วย
ข้อดี: เห็นผลเร็ว ช่วยลดผมหลุดร่วงได้ภายในหนึ่งสัปดาห์
ข้อเสีย: เหมาะกับคนที่ผมร่วงฉับพลันมากกว่า
4.การเติม Hair Fiber ปิดหนังศีรษะ
การเติมแฮร์ ไฟเบอร์เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องไปออกงานหรือทำธุระที่ อาจต้องอาศัยภาพลักษณ์ให้ดูดี โดยจะใช้ไฟเบอร์โรยให้ทั่วบริเวณหนังศีรษะ ไฟเบอร์จะไปเกาะกับผมจริงที่มีอยู่ และช่างจะค่อยๆ แต่งทรงของไฟเบอร์ให้เข้ากับผมเดิมดูเป็นธรรมชาติยิ่งขึ้น
ข้อดี: สะดวก ไม่ต้องรอเวลานาน เห็นผลทันที
ข้อเสีย: ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น ไม่ใช่ผมจริง เหมาะสำหรับคนที่จำเป็นต้องการเสริมบุคคลิกให้ดูดีแบบเร่งด่วน

5.การทำ Hair Synthetic
เหมาะ กับคนไข้ที่มีแผลผ่าตัด หรือบางคนมีปัญหาหนังศีรษะแล้วร่วงเป็นหย่อมๆ ไม่อยากจะไป ปลูกผม วิธีนี้จะใช้ผมเทียมปักลงไปบนหนังศีรษะ มีเส้นผมหลายขนาด หลายสีให้เลือก เพื่อให้เหมือนกับผมจริงที่มีอยู่เดิมให้มากที่สุด การทำจะฉีดยาชาเพื่อลดความเจ็บปวดขณะปักผมเทียม โดยยึดที่หนังศีรษะด้านล่าง
ข้อดี: อยู่ได้นานถึง 1 ปี สามารถซ่อมแซมได้หลังหลุดร่วง
ข้อเสีย: เหมาะกับคนที่ต้องการแก้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ผมเทียมที่ใส่เข้าไปจะมีความยาวเท่าเดิม

6.การใช้เลเซอร์กระตุ้น
กลุ่ม นี้จะเน้นการกระตุ้นผมให้มีการเติบโตเร็วขึ้น เพิ่มเลือดที่มาเลี้ยงตัวเส้นผม ก่อนการยิงเลเซอร์ทุกครั้งจะต้องทำทรีตเม้นต์ก่อน โดยยิงทีละจุดบนหนังศีรษะ ยิงเฉพาะส่วนผมที่บาง ยิงเพียง 2 สัปดาห์ครั้ง โดยประมาณใช้เวลาการยิงแค่ 5 ครั้ง
ข้อดี: เหมาะทั้งผู้ชายและผู้หญิง ช่วยกระตุ้นเร็วกว่าการทำทรีตเม้นต์เพียงอย่างเดียว
ข้อเสีย: ยิงเฉพาะส่วนที่บาง อาจไม่เหมาะนักสำหรับคนที่ร่วงค่อนข้างมาก
 
7. ปลูกผม ด้วยเครื่องอัตโนมัติ
วิธีการผ่าตัดปลูกผมแบบเก่าอาจใช้เวลานาน 6-8 ชั่วโมง ซึ่งค่อนข้างนานและยุ่งยาก แต่ปัจจุบันจะมีเครื่องมือปลูกผมอัตโนมัติ ซึ่งจะทำหน้าที่ดึงผมบริเวณท้ายทอยโดยครอบเข้าไปที่เส้นผมและดึงออกมาทีละ เส้น และหลังจากนั้นแพทย์จะทำการเจาะผิวหนังเพื่อเตรียมหนังศีรษะบริเวณที่ต้อง การปักผม แล้วนำผมมาปักในบริเวณที่ต้องการได้เลยทันที
ข้อดี: เร็วกกว่าการผ่าตัดปลูกผมแบบเก่า รากผมไม่ขาด ไม่มีรอยแผลเป็น
ข้อเสีย: มีราคาค่อนข้างสูง

AUTHOR
bioscoradmin